เปิดประวัติครูบาบุญชุ่ม

เปิดประวัติครูบาบุญชุ่ม

ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร สมณศักดิ์จากการยกย่องตามประเพณีพุทธศาสนาของชาวล้านนา “พระภิกษุสายวิปัสสนากัมมัฎฐาน”

ประวัติความเป็น “ครูบาบุญชุ่ม” เหตุใดจึงเป็นที่รู้จักและได้รับการนับถือทั้งชาวไทยและต่างชาติ

ร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ ตำนาน เรื่องเล่าและนิมิตรของครูบาบุญชุ่มในเหตุการณ์ถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ผู้คนหันมาให้ความสนใจและนับถืออย่างมาก เหรียญครูบาบุญชุ่ม วัตถุมงคล เครื่องรางของขลังที่ถูกทำพิธีโดยครูบาจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน ประเทศพม่า ได้รับการเคารพนับถือยกย่องทั้งประชาชนชาวไทย ประชาชนชาวลาว ประชาชนชาวพม่า และสมาชิกพระราชวงศ์ภูฏาณ

ครูบาบุญชุ่มหรือตนบุญแห่งล้านนา พระภิกษุฝ่ายอรัญวาส์ชาวไทย เป็นชาวไทใหญ่ เดิมชื่อ เด็กชายบุญชุ่ม ทาแกง เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2508 (บางแห่งระบุว่าเกิด พ.ศ.​2505) เวลา 09.00 น. ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 4 ที่หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย บุตรพ่อคำหล้าและแม่แสงหล้า มีพี่น้อง 4 คน

  • ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร
  • พระครูบาวีนัส กตปุญโญ
  • เด็กหญิงเรืองฟ้า
  • นางอ้อมใจ ปูอุตรี (สมรสแล้ว)

ต่อมาเด็กชายบุญชุ่มได้บรรพชาสามเณรที่วัดศรีบุญยืน ตำบาลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในปีพ.ศ. 2517 จนถึงปีพ.ศ. 2519 อุปัชฌาย์โดยพระครูหิรัญเขตคณารัตน์ เจ้าคณะวัดศรีบุณเรือง อำเภอแม่จัน (ในสมัยนั้น) และนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 ได้มีลำดับการจำพรรษาถึง 10 พรรษาด้วยกัน ในสถานที่ดังนี้

  • พรรษา 1 และ 2 อยู่จำวัด ณ บ้านด้ายธรรมสิทธิ์ ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน
  • พรรษา 3 อจำวัด ณ วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน
  • พรรษา 4 จำวัด ณ วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
  • พรรษา 5 และ 6 จำวัด ณ จอมแจ้งบ้านกวดขี้เหล็ก อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
  • พรรษา 7 จำวัด ณ วัดเมืองหนอมป่าหมากหน่อ บ้านห้วยราก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
  • พรรษา 8 และ 9 จำวัด ณ วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง วัดพระนอนเมืองพง ประเทศพม่า
  • พรรษา 10 จำวัด ณ วัดอนันทกุฏีวิหาร กรุกัฏมันฑุ ประเทศเนปาล

ต่อมา ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เวลา 9.19 นาที ครูบาบุญชุ่มได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ (วัดสวนดอก) จังหวัดเชียงใหม่ โดยพระราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ ธมมฺทินฺโน) เป็นผู้อุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูศรีปริยัตินุรักษ์เป็นพระกรรมวาจารย์ หลังจากอุปสมบทครูบาบุญชุ่มได้อยู่จำพรรษาในสถานที่แต่ละแห่งเป็นระยะเวลา 20 พรรษาในสถานที่ดังนี้

  • พ.ศ. 2529 พรรษา 1 จำวัดที่พระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง วัดพระนอน เมืองพง ประเทศพม่า
  • พ.ศ. 2530-2532 พรรษา 2-4 จำวัดที่วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง ประเทศพม่า
  • พ.ศ. 2533 พรรษา 5 จำวัดที่สวนพุทธอุทยาน ใกล้กับพระธาตุดอนเรือง
  • พ.ศ. 2534 พรรษา 6 จำวัดที่ห้วยดอนเรือง ใกล้กับพระธาตุดอนเรือง
  • พ.ศ. 2535 พรรษา 7 จำวัดที่ดอยป่าไม้เปา ใกล้กับพระธาตุดอนเรือง
  • พ.ศ.​2536-2538 พรรษา 8-10 จำวัดที่ถ้ำห้วยรัง บ้านมูเซอ
  • พ.ศ. 2539-2540 พรรษา 11-12 จำวัดที่ถ้ำพระพุทธบาทผาช้าง (เขตหว้าแดง)
  • พ.ศ.2541 พรรษา 13 จำวัดที่ถ้ำผาจุติง ประเทศภูฏาณ
  • พ.ศ.2542 พรรษา 14 จำวัดที่ถ้ำพระพุทธบาทผาช้าง ระหว่างเมืองแฮะและเมืองจีน (เขตหว้าแดง)
  • พ.ศ.2543-2544 พรรษา 15-16 จำวัดที่ถ้ำน้ำตก เมืองแสนหวี (ชายแดนพม่ากับประเทศจีน)
  • พ.ศ.2545 พรรษา 17 จำวัดที่ถ้ำผาจุติง ประเทศภูฏาณ
  • พ.ศ.2546-2547 พรรษา 18-19 จำวัดที่กองร้อยทหารตระเวณชายแดนน เมืองปูนาคา
  • พ.ศ.2548 พรรษา 20 จำวัดที่ถ้ำผาแดง บ้านล่อม ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ระหว่างนั้นในปี 2547 ว่ากันว่าครูบาบุญชุ่มได้ถูกรัฐบาลทหารพม่าขับออกจากประเทศ บ้างก็ว่าครูบาบุญชุ่มมีความต้องการจะกลับคืนสู่ประเทศไทยด้วยตนเอง ซึ่งเมื่อท่านได้พำนักอยู่ในประเทศไทยนั้นได้บรูณะและสร้างวัดใหม่หลายแห่ง รวมทั้งดอยเวียงแก้ว อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายอีกด้วย

ในปีพ.ศ. 2553 – พ.ศ. 2556 ครูบาบุญชุ่มได้ถือศีลที่วัดถ้ำราชคฤห์ อำเภองาว จังหวัดลำปาง เป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน 33 ชั่วโมง 33 นาทีโดยไม่ปลงผม ไม่รับกิจนิมนต์ และฉันเพียงผลไม้เท่านั้น หลังจากนั้นท่านทรงได้กลับไปยังวัดดอนเรือง เมืองพง จังหวัดเชียงตุง และรัฐบาลพม่าได้ออกบัตรประจำตัวพระภิกษุถวายแก่ครูบาบุญชุ่ม เพื่ออำนวยความสะดวกให้ท่านสามารถเข้าออกประเทศพม่าได้อย่างสะดวก

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2561 ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเมือง เมืองพง รัฐฉานประเทศพม่าได้ทำพิธีเปิดทางช่วยคณะหมูป่า (เด็กนักเรียนและโค้ช 13 ชีวิต) ที่ติดอยู่ ณ หน้าถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ให้เดินทางกลับมาได้อย่างปลอดภัย

หลังจากนั้นในปีเดียวกันท่านได้มอบเครื่องรางของขลัง “สร้อยลูกประคำ” แก่ตำรวจที่ตั้งด่านเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดอกแก่การช่วยเหลือคณะหมูป่า

เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล ครูบาบุญชุ่ม

  • เหรียญครูบาบุญชุ่ม วัดไผ่เงินโชตนาราม
  • สร้อยลูกประคำ
  • สายสิญจ์ด้ายแดง

คาถาครูบาบุญชุ่ม

ภาวนาเป็นประจำทุกวันร่วมกับการประพฤติในศีลช่วยหนุนดวงชะตา แคล้วคลาดปลอดภัยเงินทองไหลมา เสริมดวงค้าขาย

“นโม พุทธายะ พุทโธ อุปปันนัง
นโม ธรรมายะ ธรรมโม อุปปันนัง
นโม สังฆายะ สังโฆ อุปปันนัง

ติโลกะนาถัง อะหังวันทามิ ภควาติ
เตสาหัง สีระสาปาเต วันทามิ ปุริสุทธาเม
วะจะสา มะนะสาเจวา วันทาเมเต
ตะถาคะเต สะยะเน อะสะเนถาเน
กัมมะเนจาปิ สัพพะทา สะทา สุเขนะ
รักขันตุ สะทา โสตภี ภะวันตุเม”

อ้างอิง:
หนังสือ 30 พรรษาในร่มเงาพระพุทธศาสนาของครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร
เปิดประวัติครูบาบุญชุ่ม พระไทยที่ชาวพม่าบูชาทั่วประเทศ-องค์จิกมีทรงศรัทธา
สังเขปประวัติพระภิกษุสงฆ์ : ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร

Message us