เรื่องราวความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค

เรื่องราวความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค

นาคหรือจ้าวแห่งนาค สัตว์เทพเจ้าอันมีตำนานกล่าวถึงทั้งในวรรณคดี ปาฎิหารย์ต่างๆ สัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ อาหาร ค้าขาย หนุนดวงชะตาให้มีวาสนา ตามความเชื่อหมายถึงงูขนาดใหญ่อันมีหงอน อาศัยอยู่ในเมืองบาดาลสามารถแปลงกายเป็นมนุษย์ได้ นาคเพศหญิง เรียกว่า “นาคี” นาคเพศผู้เรียกว่า “พญานาค”

เรื่องราวตำนานของพญานาคได้สืบทอดมาอย่างยาวนาน ว่ากันว่ามีต้นตอจากประเทศอินเดีย เนื่องจากประเทศอินเดียนั้นมีลักษณะภูมิประเทศป่าชื้นจึงทำให้มีงูอาศัยมากมาย ชาวบ้านนับถืองูว่าเป็นสัตว์แห่งอำนาจ

ผู้วาด: แฟนเพจพาพา (@apaphaty)

ความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคและอิทธิฤทธิ์นั้น ถูกกล่าวขานออกไปต่างกันไม่เพียงแต่ในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธเท่านั้น พบว่าพญานาคก็มีเรื่องเล่าในชาวตะวันตกเช่นเดียวกันซึ่งได้รับการกล่าวถึงว่าพญานาค มังกรนั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ความเชื่อในศาสนาฮินดู นาคเป็นสิ่งมีชีวิตกึ่งเทวะอันมีพลังอำนาจวิเศษ มีรูปลักษณะเป็นมนุษย์ครึ่งงู อาศัยในนาคโลกหรือเมืองบาดาล ผู้ปกป้องสมบัติและยังเป็นผู้ที่ได้อยู่ใกล้ชิดเทพต่างๆ จนได้เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ

ภาพประกอบโดย The illustrated

ความเชื่อในพุทธศาสนา นาคมีรูปลักษณะคล้ายงูเห่า ดังเห็นในพระพุทธรูปปางนาคปรก มีทั้งเศียรเดียวรวมทั้งมีหลายเศียร อันมีพลังเฉพาะในแต่ละลักษณะ ว่ากันว่านาคมีความเลื่อมใสในพุทธธรรมและต้องการออกบวชแต่กระนั้นเองพระโคตมพุทธเจ้าไม่สามารถให้นาคบวชได้ จำต้องมาเกิดใหม่เป็นมนุษย์เสียก่อนจึงจะสามารถบวชตามความต้องการ

พญานาคมีลักษณะต่างกันไปตามความเชื่อ บ้างว่ามีลักษณะเป็นงูตัวใหญ่ หงอนสีทองดวงตาสีแดงก่ำ เกล็ดคล้ายปลามีหลากสีขึ้นอยู่กับอิทธิฤทธิ์และบารมีของพญานาคตนนั้น จะเห็นได้จากงานประติมากรรม จิตกรรมในศิลปะต่างๆ ที่ถูกตกแต่งตามวัดวาอารม สถานที่สำคัญหลายแห่ง อาทิเช่น นาคสะดุ้งอันเปรียบเสมือนบันไดนาคนั้น มีความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ดาวดึงส์ด้วยบันไดแก้วมณีสีรุ้งที่เทวดาได้เนรมิตขึ้นมาและพญานาค 2 ตนให้หนุนบันได้ไว้ พญานาคแกะสลักถูกประดับราชรถพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาที่โรงเมี้ยนโกศ วัดเขียงของ หลวงพระบาง

ตำนานในประเทศไทยนั้น ได้มีวัตนธรรมสืบสานกันมาอย่างยาวนานร่วม 2 เชื้อชาติทั้งไทยและลาว ในความเชื่อที่สืบทอดกันมาว่ามีนาคหรือเทพแห่งน้ำอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง และยังมีความเชื่อที่ว่า นาคมีอยู่ 4 ตระกูลใหญ่ อันได้แก่

  • ตระกูลวิรูปักษ์ ลักษณะพญานาคสีทอง
  • ตระกูลเอราปถ ลักษณะพญานาคสีเขียว
  • ตระกูลฉัพพยาปุตตะ ลักษณะพญานาคสีรุ้ง
  • ตะกูลกัณหาโคตมะ ลักษณะพญานาคสีดำ

ในตะกูลธรรมดาพบว่าพญานาคจะมีเศียรเดียว ในขณะที่ตระกูลสูงศักดิ์กว่านั้นจะมี สาม ห้า เจ็ด เก้า เศียรตามลำดับ นาคเหล่านี้สืบเชื้อสายจากพญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช) อันเป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียณสมุทร

ความเชื่อเรื่องพญานาคในประเทศไทยเองเกิดขึ้นแตกต่างกันตามวัฒนธรรมในแต่ละภาค ในภาคเหนือนั้นก็มีความเชื่อว่าพญานาคเป็นผู้ช่วยในการดลจิตเจ้าเมืองสิงหนวัติในการสร้างรกร้างที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็มีความเชื่อว่าพญนาคนั้น หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรและความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยในทุกวันออกพรรษานั้นเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรณ์ พญานาคที่อาศัยในเมืองบาดาล แม่น้ำโขงนั้น ต่างยินดีต้อนรับด้วยบั้งไฟ รวมถึงในวันพิธีแรกนาไถนั้นก็จะดูฤกษ์ถือยามการเบี่ยงควายลากไถไม่ให้ไปโดนทิศทวนเกล็ดนาค เพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคนั้นเอง

ตามตำนานพญานาคกล่าวว่าพญานาคสามารถเกิดได้ 4 แบบคือ

  • แบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที
  • แบบสังเสทชะ เกิดจากสิ่งหมักหมม
  • แบบชลาพุชะ เกิดจากครรภ์คล้ายมนุษย์และ
  • แบบอัณฑชะ เกิดจากไข่

เรื่องราวความเชื่อ ตำนานต่างๆ ล้วนมีมาแต่ช้านานขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละบุคคล ในผู้ที่มีความศรัทธาอย่างมากก็นิยมนำพญานาคมาใช้เป็นเครื่องรางของขลัง วัตถุมงคลในการเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต ดังจะเห็นได้จากความโด่งดังร่ำรือของผู้ที่ครอบครองและมีศรัทธาในด้านต่างๆ นั่นเอง

บทความที่น่าสนใจ

Message us