ตำนาน ท้าวเวสสุวรรณ เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย

ตำนาน ท้าวเวสสุวรรณ เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย

ท้าวเวสสุวรรณคือใคร ทำไมคนจึงกราบไหว้บูชา

ตำนานแห่ง “ท้าวเวสสุวรรณ” (ท้าวเวสสุวัน) ในภาษาพราหมณ์เรียกว่า “ท้าวกุเวร” หรือในทางพุทธศาสนาเรียกว่า “ท้าวไพศรพณ์” ยักษาหนึ่งในจตุโลกบาลทั้ง 4 ผู้คุ้มครองและดูแลมนุษย์โลก อันประกอบไปด้วย

  • พระอินทร์ (ท้าวธตรฐ) ปกครองโลกด้านทิศตะวันออก
  • พระยม (ท้าววิรุฬหก) ปกครองโลกด้านทิศใต้
  • พระวรุณ (ท้าววิรูปักษ์) ปกครองโลกด้านทิศตะวันตก และ
  • ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองทางทิศเหนือ

มีตำนานกล่าวว่าแม้จะมีใบหน้าอันเป็นที่เกรงขามแต่ด้วยจิตใจอันดี รวมถึงผิวกาย พัสตราภรณ์ของยักษ์ตนนี้ยังมีสีทองเหลืองอร่าม บ้างก็ว่ามีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุตหรือประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะเป็น ช้าง ม้า รถ ปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสระยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง และยังเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มยุราช อิจฉาวสุ ราษเสนทร์ ท้าวกุเรปัน ฯลฯ

ท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวร พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัยพ์มียักษ์และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรหรือ ท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก “กุเวร” ว่า “กุเปรัน” มีเรื่องราวถูกกล่าวถึงในรามเกียรติ์ เป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ได้ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวร

ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการผิวขาว มีฟัน 8 ซี่ และมีสามขา (ภาพท้าวเวสสุวรรณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแยถือไม้กระบองยาวอยู่หว่างขา) เมืองท้าวเวสสุวรรณชื่อ “อลกา” อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า “สวนไจตรต” หรือ “มนทร” มีกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ โดยท้าวกุเวรเป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ คนจีนเรียกกว่า “โต้เหวน” หรือ “โต้บุ๋น” คนญี่ปุ่นเรียกว่า “พสมอน”

สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตสถาน เล่มที่ 3 หน้า1439

ด้วยความดีและจิตใจเมตตาชอบช่วยเหลือ ทั้งยังยึดถือในศีล ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด จึงเกิดเป็นความศรัทธาและนับถือกราบไหว้บูชา ดังจะเห็นว่ามีรูปปั้นยักษ์มือถือกระบองยาว หรือไม้เท้า อันเป็น “คทาวุธ” ยอดแห่งศัสตราวุธที่มีพลังมหาศาล ตั้งตระหง่านอย่างสง่างามในบริเวณวัด ซุ้มประตู เชื่อว่าพลังนั้นช่วยพิทักษ์รักษาสมบัติ ของโบราณ ช่วยขับไล่ภูติผีปีศาจและยังเป็นเทพแห่งผู้พิทักษ์พุทธศาสนาให้สืบต่อไป

ด้วยความเชื่อและความศรัทธานั้น ท้าวเวสสุวรรณจึงได้รับความนิยมเป็นเครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล เสริมดวงค้าขายพกพาป้องกันคุณไสย์มนต์ดำ ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย รวมถึงยังช่วยเสริมบารมี อำนาจ ให้ได้อวยยศ อวยลาภ ความร่ำรวยมาสู่ผู้ครอบครอง ทดสอบฤกษ์การเสี่ยงดวง

ความเชื่อแต่สมัยโบราณ

ในทางพุทธศาสนาเชื่อว่าในอดีตของท้าวเวสสุวรรณนั้นเคยได้เป็นพราหมณ์ มีอาชีพขายหีบอ้อยจนร่ำรวย ทั้งยังมีนิสัยใจบุญชอบช่วยเหลือผู้ยากไร้ กุศลนี้จึงได้ส่งให้บุญที่ได้กระทำมาจนชั่วชีวิตแม้ได้มาเป็นยักษาแล้วก็ยังบำเพ็ญกิจกุศล รักษาศีลอย่างต่อเนื่องหลายพันปี กระนั้นเองจึงทำให้ “ท้าวเวสสุวรรณ” ได้รับพรจากพระอิศวร พระพรหม ประทานชื่อให้ว่า “ท้าวเวสสุวรรณ” อันหมายถึง พ่อค้าอันมีทรัพย์ และยังหมายถึง “เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย” นั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่ากล่าวว่า ท้าวเวสสุวรรณหรือเดิมชื่อ กุเวรพราหมณ์ ได้ยึดถือปฏิบัติแต่คุณความดีและกุศลบุญ ชาติถัดมาก็ได้เป็นกษัตริย์ครองกรุงราชคฤห์ อันมีพระนามว่า พระเจ้าพิมพิสาร ทั้งยังทรงเป็นพระสหายของเจ้าชายสิทธัตถะ โดยต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้เสด็จมาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จนบรรลุเป็นโสดาบัน ขณะนั้นพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายทานอย่างสม่ำเสมอ และยังถวายพระเวฬุวันมหาวิหารให้พระพุทธเจ้าประทับ จึงส่งผลให้ได้เป็นเทวดา

โบราณนิยมนำรูปท้าวเวสสุวรรณแขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน รวมทั้งสร้างเป็นผ้ายันต์ และสลักบริเวณมีดของสัปเหร่อเพื่อป้องกันวิญญาณร้าย

คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ

(ตั้งนโม 3 จบ)
อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มรณังสุขัง อะหังสุ คะโต นะโมพุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ
จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ
ท้าวเวสสุวรรณโณ นโมพุทธายะ

Message us